การประเมินตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ Index partner testing

           
โรงพยาบาล 
จังหวัด 
 
วิธีการประเมิน : 
 
 
ชื่อผู้ทำการประเมิน :  อีเมล์ :   
วันที่ทำการประเมิน : 
RadDatePicker
RadDatePicker
Open the calendar popup.
ชื่อผู้รับผิดชอบในโรงพยาบาลที่ช่วยในการประเมินครั้งนี้ :   
           
1) จำนวนผู้ให้บริการ/หรือผู้ให้คำปรึกษา ในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลนี้ : Spin UpSpin Down ท่าน 
2) จำนวนผู้ให้บริการที่ให้บริการ Index partner testing) ในโรงพยาบาลนี้ : Spin UpSpin Down ท่าน 

โปรดเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดโดยใส่เครื่องหมาย “ถูก” ลงในช่อง                    

 การให้บริการปรึกษา และ การขอคำยินยอม

1.1 การให้บริการปรึกษา (Counselling) ใช่/ทุกครั้ง เป็นบางครั้ง ไม่มี/ไม่เคย ไม่ทราบ
1.1.1 ผู้รับบริการทุกรายได้รับคำปรึกษาก่อนการตรวจเลือด ซึ่งรวมถึงการพูดคุยเรื่อง Index partner testing และความสำคัญที่คู่หรือลูกๆ จะได้รับจากการมาตวรจเลือด ใช่หรือไม่
1.1.2. ผู้ให้บริการได้แจ้งผู้รับบริการทุกราย ถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของการชวนคู่มาตรวจ ใช่หรือไม่
1.1.3. ผู้ให้บริการเรื่อง Index partner testing มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษามาก่อน ใช่หรือไม่
1.1.4. ผู้ให้คำปรึกษาได้มีการทวนวิธีการชวนคู่ทั้ง 4 วิธี และพูดคุยเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของแต่ละวิธี ใช่หรือไม่
1.1.5. ผู้ให้คำปรึกษาได้มีการคุยกับผู้รับบริการที่ยังไม่พร้อมเปิดเผยผลเลือดตนเองกับคู่ ว่าสามารถแจ้งคู่สัมผัสให้มาตรวจแบบนิรนาม (anonymous notification) ได้ ใช่หรือไม่ เช่น การส่ง SMS/ line โดยไม่มีการอ้างถึง Index client
         
1.2. การขอคำยินยอม (Informed Consent) ใช่/ทุกครั้ง เป็นบางครั้ง ไม่มี/ไม่เคย ไม่ทราบ
1.2.1 ผู้รับบริการทุกรายได้รับแจ้งว่ามีสิทธิที่จะปฏิเสธรับบริการการชวนคู่มาตรวจเอชไอวีโดยจะไม่มีผลต่อบริการต่างๆ ที่พึงจะได้รับตามสิทธิ ใช่หรือไม่
1.2.2 ผู้รับบริการทุกรายได้รับแจ้งว่าสามารถยกเลิกการรับบริการชวนคู่มาตรวจเลือดเอชไอวี เมื่อไหร่ก็ได้ (เช่น เมื่อรู้สึกกดดันที่ต้องบอกชื่อคู่ ผู้สัมผัส) โดยจะไม่มีผลต่อบริการต่างๆ ที่จะได้รับ ใช่หรือไม่
1.2.3 มีการขอความยินยอมจากผู้รับบริการทุกรายก่อนที่จะขอข้อมูลของคู่ที่มีเพศสัมพันธ์/คู่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และลูกๆ ใช่หรือไม่

 การรักษาความลับ และ การเชื่อมต่อบริการ

1.3. การรักษาความลับ (Confidentiality) ใช่/ทุกครั้ง เป็นบางครั้ง ไม่มี/ไม่เคย ไม่ทราบ
1.3.1 ขั้นตอนการประเมินความรุนแรงระหว่างคู่ เจ้าหน้าที่ได้ให้บริการปรึกษาในพื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัว ใช่หรือไม่
1.3.2 ภายในหน่วยงานมีการป้องกันการเปิดเผยข้อมูลและมีการรักษาความลับของผู้รับบริการ ได้แก่ ชื่อ Index client และคู่/ผู้สัมผัส ที่อยู่ และอื่นๆ
1.3.2.1) เวชระเบียน/บันทึกจะต้องเก็บในที่ที่มีการปิดล็อคและจำกัดผู้ที่เข้าถึงสถานที่หรือเอกสารเหล่านี้ได้
1.3.2.2) มีการป้องกันและจำกัดการเข้าถึงฐานข้อมูลของผู้รับบริการด้วย ใช่หรือไม่
1.3.3 ในหน่วยงาน มีการทำข้อตกลงร่วมกันในการรักษาความลับในการให้รายชื่อและข้อมูลการติดต่อผู้สัมผัส/หรือคู่ หรือลูกๆ กับหน่วยงานอื่นๆ หรือกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานชุมชน (เช่น องค์กรภาคประชาสังคม อาสาสมัครเครือข่ายผู้ติดเชื้อ)ใช่หรือไม่ (ควรขอดูเอกสาร เช่น บันทึกข้อตกลง)
1.3.4 มีมาตรฐานการดำเนินการในการแจ้งคู่ ผู้สัมผัส แบบไม่ระบุชื่อ Index client หรือไม่ (เช่น ขั้นตอนการใช้ social media ในการติดต่อคู่สัมผัส หรือการโทรศัพท์สนทนากับคู่) ใช่หรือไม่
         
1.4 การเชื่อมต่อบริการ (Connection to Services) ใช่/ทุกครั้ง เป็นบางครั้ง ไม่มี/ไม่เคย ไม่ทราบ
1.4.1 หน่วยบริการมีกระบวนการเพื่อเชื่อม/ส่งต่อคู่สัมผัสและลูกที่มีผลการติดเชื้อเอชไอวีเป็นบวก (positive) เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวี ใช่หรือไม่
1.4.2 หน่วยบริการมีกระบวนการเพื่อเชื่อม/ส่งต่อคู่สัมผัสที่มีผลการติดเชื้อเอชไอวีเป็นลบ (Negative) ในคู่ผลเลือดต่างเข้ารับบริการการป้องกัน (เช่น PrEP) ใช่หรือไม่

 การประเมินความรุนแรงระหว่างคู่

1.5. การประเมินความรุนแรงระหว่างคู่ (IPV Risk Assessment) ใช่/ทุกครั้ง เป็นบางครั้ง ไม่มี/ไม่เคย ไม่ทราบ
1.5.1. มีขั้นตอนดำเนินงานบันทึกไว้ชัดเจนในการประเมิน ความรุนแรงระหว่าง Index client และคู่ทุกราย โดยใช้คำถามมาตรฐานในการประเมิน
1.5.2. ในการประเมินความรุนแรงระหว่างคู่ได้มีจดการบันทึกผลการประเมินของคู่ทุกรายที่ผู้รับบริการให้ข้อมูลไว้ ใช่หรือไม่
1.5.3. ผู้ให้บริการได้ช่วยเหลือผู้รับบริการที่มีความรุนแรงระหว่างคู่ในการเลือกวิธีการแจ้งคู่ เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของผู้รับบริการ ใช่หรือไม่
1.5.4. มีการประเมินความรุนแรงระหว่างคู่ในสถานที่ที่มีความเป็นส่วนตัว ใช่หรือไม่
1.5.5. หน่วยบริการมีผู้ให้บริการอย่างน้อย 1 ท่าน ที่ได้รับการอบรมในการช่วยเหลือเบื้องต้น (LIVES)* เช่น การเข้าใจและไม่ตัดสิน การให้คำแนะนำ การส่งต่อหน่วยบริการที่เหมาะสม
1.5.6. หน่วยบริการมีทรัพยากร หรือรายชื่อหน่วยงาน สำหรับให้คำแนะนำและ/หรือช่วยเหลือผู้รับบริการที่มีปัญหาความรุนแรง หรือได้รับผลกระทบ ใช่หรือไม่
1.5.7. หน่วยบริการมีระบบส่งต่อ เพื่อส่งผู้ที่มีความรุนแรงระหว่างคู่ ไปยังหน่วยที่ให้บริการเกี่ยวกับการดูแลและช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาความรุนแรง ใช่หรือไม่

 การอบรมและการติดตาม

1.6. การอบรมและการติดตามสนับสนุน (Training and Supportive Supervision) ใช่/ทุกครั้ง เป็นบางครั้ง ไม่มี/ไม่เคย ไม่ทราบ
1.6.1. การอบรม Index partner testing มีการเน้นเรื่องการรักษาความลับ การเคารพสิทธิของผู้รับบริการ การขอคำยินยอมด้วยความสมัครใจ และการให้บริการที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้รับบริการ ใช่หรือไม่
1.6.2. ผู้ให้บริการ Index partner testing ทุกท่านได้รับการอบรมเกี่ยวกับการดำเนินการจัดบริการตามแนวทางจัดบริการที่เป็นมาตรฐาน ใช่หรือไม่
1.6.3. ผู้จัดการหรือหัวหน้าของหน่วยงานระดับพื้นที่ได้มีการติดตามหนุนเสริม (รวมถึงการสังเกตและบันทึก) การให้บริการ Index partner testing อย่างน้อยทุกไตรมาส ใช่หรือไม่
         
1.7. การติดตามและการจัดการกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (Adverse Events Monitoring and Response) ใช่/ทุกครั้ง เป็นบางครั้ง ไม่มี/ไม่เคย ไม่ทราบ
1.7.1. ผู้ให้บริการ Index partner testing ทุกท่านได้รับการอบรมเกี่ยวกับการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากบริการ และการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ใช่หรือไม่
1.7.2 หน่วยบริการมีระบบเพื่อติดตามและสืบค้นรายงานการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งความรุนแรงระหว่างคู่ ใช่หรือไม่
1.7.3 ผู้ให้บริการมีการซักถามผู้รับบริการเกี่ยวกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นจากบริการ Index partner testing ภายใน 2-4 สัปดาห์ นับหลังจากเสนอบริการ ใช่หรือไม่
1.7.4.หน่วยบริการมีระบบที่ให้ผู้รับบริการแจ้ง หรือให้ข้อมูลแบบไม่มีการระบุชื่อ (anonymous) ผู้แจ้งเรื่องเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ใช่หรือไม่ (เช่น การใช้สายด่วน การเขียนใส่กล่อง การแจ้งผ่านระบบออนไลน์)
1.7.5. หน่วยบริการมีเครื่องมือสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วยในความสมัครใจในการรับบริการ เป็น Index partner testing โดยไม่มีการบังคับ ใช่หรือไม่
1.7.6. ผู้ให้บริการ Index partner testing ได้พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และเขียนรายงานเหตุการณ์ดังกล่าว หรือไม่ (เช่น เจ้าหน้าที่ตำหนิ กล่าวหา ดูถูกผู้รับบริการ)